วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่4



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4
วันจันทร์ ที่ 27  มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.
จัดทำโดย
นางสาวปภาวรินท สุทธิประภา เลขที่21


เนื้อหาที่เรียน

รูปแบบการนำเสนอ 
- การใช้โทนเสียง
- บุคคลิกภาพ
-ให้ความสนใจผู้ฟัง
- การเว้นวรรคคำ
- การสรุปใจความ ประเด็นที่สำคัญ
- การใช้ ร ล
- คำทักทาย

เทคนิคการจัดประสบการณ์
- นิทาน
- เพลง
- เกม
- คำคล้องจอง
- ปริศนาคำทาย
- บทบาทสมมุติ
- แผนภูมิภาพ
- การประกอบอาหาร

ขั้นอนุรักษ์ เด็กตอบตามที่ตาเห็น คือเด็กยังใช้เหตุผลได้นิดหน่อย ถ้าเมื่อไหร่ที่เด็กไม่ได้ตอบตามที่ตาเห็น แสดงว่าเด็กเริ่มใช้เหตุผลได้แล้ว
  เราอย่าพึ่งสอนนามธรรมให้สอนรูปธรรมก่อน เช่น สอนให้เด็กได้จับต้องก่อน ค่อยเห็นภาพและค่อยถอดรหัส

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นให้เด็กก่อน แล้วจึงจะจัดอันดับ การรวมตัวเป็นการนับจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น

สาระที่2 การวัด
การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน เช่น การใช้นิ้ว มือ ฝามือ ศอก เชือก การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน เช่น มือ การทำคาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียนเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ

สาระที่3 เราขาคณิต
ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ระหว่า ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่บอกตำแหน่ง ทิศทาง การจำแนกทรงของวงกลม ทรงสี่เหลี่ยม กรวย จะใช้วิธีพิจารณารูปร่าง

สาระที่4 พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ

สาระที่5 การวิเคราะห์จข้อมูล และความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถาม นำเสนอเป็นรูปภาพหรือกราฟ

สาระที่6 ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์
             มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  คำศัพท์
1.Learning สาระการเรียนรู้
2.Between ระหว่าง
3.Geometry เรขาคณิต 4.Skills ทักษะ 5.Measuring การวัด


ประเมิน
 ประเมินตนเอง :  ตั้งใจฟังและตอบคำถามที่อาจารย์สอนทำงานที่ได้รับมอบหมายงานให้ จดบันทึกประเด็นที่สำคัญ
 ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉🍉

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่3



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
วันจันทร์ ที่ 20  มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.
จัดทำโดย
นางสาวปภาวรินท สุทธิประภา เลขที่21

เนื้อหาที่เรียน

     คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก คือ การเต้นของหัวใจที่สม่ำเสมอ เป็นคณิตศาสตร์เบื้องต้น

        สมองมีหน้าที่ซึมซับข้อมูลที่เรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือและเครื่องมือที่ใช้คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำแล้วจะต้องมีความสุข เป็นการกระทำของเด็กการลงมือทำเองคือวิธีการเรียนรู้หรือเรียกสั้นๆว่า
 ''การเล่นแล้วส่งไปประมวลผลเพื่อปรับโครงสร้างความรู้ใหม่ 

การทำงานของสมอง → ต้องมีการซึบซับรับข้อมูล 
→ โดยผ่านการกระทำกับวัตถุ  จึงเกิดการเรียนรู้  ← ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย


ทำไมเด็กถึงสอบได้ และ สอบตก  มี 5 ปัจจัย
  
1. ครอบครัว คือการอบรมเลี้ยงดู
2. สภาพแวดล้อม คือเพื่อนข้างบ้านและเพื่อนในห้องเรียน
3. สุขภาพร่างกาย คือ พันธุกรรม โคโมโซม
4. เศรษกิจ คือ การเงิน ที่อยู่อาศัย
5. ค่านิยม คือวัฒนธรรม สังคม
    ดังนั้นเราจึงจะต้องให้โอกาสและทำให้เขาดีที่สุด
                                  
                                       ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
บรูเนอร์ เชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
         สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นด้วยกัน 
    ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
                                1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
                                2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย
                                3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง  รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น 

สรุป                       
  บรูเนอร์มีความเห็นว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวนการที่เรียก ว่า  acting, imaging และ symbolizingเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น

                                           

  คำศัพท์
1. brain สมอง
2.Overlap การทับซ้อน
3.To play การเล่น
4.The education การศึกษา
5.mathematics คณิตศาสตร์

ประเมิน
 ประเมินตนเอง : เวลาอาจารย์ถาม สามารถตอบได้  ตั้งใจฟังอาจารย์ ที่มอบหมายงานให้ จดบันทึกลงจับประเด็นที่สำคัญ
 ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน แสดงความคิดเห็นและช่วยกันตอบคำถาม
 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายและได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด

🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝🥝

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563


ตัวอย่างการสอน

เรียนรู้การบวกเลขหนึ่งหลัก ( อนุบาล 2 )




การเรียนรู้การบวกเลขหนึ่งหลัก
ขั้นนำ
- ถามเด็กๆว่ามีใครอยากบวกเลขบ้างคะ 
-ครูให้เด็กๆชูนิ้วขึ้นมาแล้วเริ่มนับพร้อมกัน นับเลข 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ขั้นสอน
- ครู ถามเด็กๆ พร้อมกันหรือยัง เด็กๆทุกคนตอบว่าพร้อมกันแล้ว
- ครูให้เด็กออกมา 2คน เป็นตัวแทนถือรูปตัวเลข โดย มีเลข 5 และ เลข 3
- ครูถามเด็กๆ 5+3 เท่าไหร่ โดยให้เด็กๆ นับในใจ  คือ เอาเลข5 ไว้ในใจ ชูนิ้วขึ้นมา อีก 3 นับเพิ่มเป็น 5 6 7 8 เด็กๆสามารถตอบได้ คำตอบคือเลข 8 ค่ะ  จากนั้นก็ถามตัวเลข 4 + 2  เอา 4 ไว้ในใจ บวก 2 เท่ากับ 6 ต่อไป 9+2 ให้เด็กๆ นับเลข 9 ไว้ในใจ จากนั้น ชูขึ้น 2 นิ้ว 9 10 11
- เด็กๆสนุกกันมากๆ ผลัดกันออกมาถือตัวเลข และเด็กๆได้มีส่วนร่วมในการตอบในการทำกิจกรรมในห้องเรียน 

ก่อนจบการสอน
ครูก็ให้เด็กๆปรบมือและร้องเพลงพร้อมประกอบท่าเพลง 
one two three four five จั้ม six seven eight nine ten จั้ม (ซ้ำ2รอบ)

• เป็นการสอนเด็กโดยการบวกลบเลข โดยการใช้นิ้วมือนับและนับไว้ในใจ ให้เด็กๆทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตอบตัวเลข 
• เป็นการฝึกให้เด็กได้มีพัฒนาการด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
• โรงเรียนอนุบาลทองขาว
166 หมู่ที่ 10 บ้านบ่อ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000

แหล่งอ้างอิง

สรุปวิจัย เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรม
ศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
  •  ปริญญานิพนธ์   พิจิตรา  เกษมประดิษฐ์
  •  หลักสูตรปริญญาการศึกาามหาบัณฑิต  สาขาการศึกษาปฐมวัย                                     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปีการศึกษา 2552
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
  • เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการ
          จัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ขอบเขตของการวิจัย 
       ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี
ซึ่งกําลังศึกษา อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียน
อนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานครจํานวน 81 คน
 กลุ่มตัวอย่าง  
      กลุ่มตัวอย่างทที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเดกปฐมวัยชาย-หญงิ ที่มีอายุ 3 – 4 ปีซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนบาลกุ๊กไก่
สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จํานวน 20 คน 
ตัวแปรที่ศึกษา 
  •  ตัวแปรต้น คือการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมขนมอบ 
  • ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร
นิยามศัพท์เฉพาะ
  1. เด็กปฐมวัย
  2.  กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
  3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    กรอบแนวคิดการวิจัย
    สมมติฐานของการวิจัย
    เด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น
     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีดังนี้ 
    1.   แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
    2.   แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

    การดําเนินการทดลอง

    1.     ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทําวิจัย  
    2.     ทําการทดสอบก่อนการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลองด้วยแบบทดสอบ
           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
    3.     ดําเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง โดยให้นักเรียนทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วย
          ขนมอบ กลุ่มละ 5 คน จํานวน 4 กลมุ่ เป็นเวลา 8 สัปดาห์    สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 
            20 นาที ระหว่างเวลา 10.00 – 10.20 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง จํานวน 24 กิจกรรม
    4.     เมื่อครบ 8 สัปดาห์แล้วทําการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการ
           ทดลองด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกับก่อนการทดลอง
    5.      นําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติเพื่อสรุปผลการ
           วิจัย  
    6.     การแปลผลระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  
    7.     การแปลผลระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การแปลผลระดับของทักษะ
           พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้กําหนดการแปลผล
            ในภาพรวมและจําแนกรายด้าน ดังต่อไปนี้





    สรุปผลการวิจัย
             ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลอง          สูงกว่าก่อนการทดลองทํากิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
    ระดับ .01





    ดูเพิ่มเติมได้ที่
    https://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Pigitra_K.pdf&ved=2ahUKEwiSr5ODpujYAhWJto8KHd83DBIQFjAAegQIFBAB&usg=AOvVaw0Mb1blISlrQYF-MgJeXunw


    สรุปบทความ (คลิป)
    คณิตศาสตร์กับพัฒนาการของเด็ก
    คณิตศาสตร์กับพัฒนาการของเด็ก
    โดย : สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
    เมื่อ : วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2562
    ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
    บทความ
    รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
    สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
    ลิขสิทธิ์
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
    แหล่งที่มา

    คลิปการนำเสนอบทความ


            พัฒนาการทางด้านการคำนวณในวัยเด็กที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับลูกเป็นอย่างมาก สังเกตง่าย จากพฤติกรรมการปลูกฝังหรือพยายามให้ลูกคุ้นเคยกับตัวเลขกันตั้งแต่เด็ก ซึ่งนี่ถือเป็นพัฒนาการเริ่มต้นที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญอันดับต้น  มีการเตรียมความพร้อมในการฝึกพัฒนาการทางด้านสมองกับคุณลูก เช่นการเตรียมซื้อสื่อการสอนหรือของเล่นใด  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการในด้านต่าง  เช่น แผ่นอ่านตัวเลข ของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข การจดจำ การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การเขียนตัวเลขการเปรียบเทียบ รูปทรง รูปร่าง พื้นที่ การชั่ง การตวง การวัด ความสัมพันธ์ เวลา วันที่ การเพิ่มและการลดจำนวน เป็นต้น

    พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 1-2 ปี

           ช่วงวัยนี้ การเริ่มต้นให้เด็กได้หยิบจับสิ่งของรอบตัว มีการฝึกนับจำนวนเพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยจำนวนที่นับอยู่ในช่วง 1-10 โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเปล่งเสียงให้เด็ก  ฟังบ่อย  ซึ่งจะสร้างความคุ้นหูและคุ้นเคยให้เด็กเป็นอย่างดี และค่อย  เพิ่มจำนวนนับเพิ่มขึ้นเรื่อย  ตามความสนใจของเด็ก 

    พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 3-4 ปี
             
           ช่วงวัยนี้ เริ่มเข้าสู่การขีดเขียน โดยคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มได้เห็นการเขียนตัวเลขตามลำดับจำนวน การนับ ลำดับรวมไปถึงพัฒนาการที่สูงขึ้นโดยใช้พื้นฐานการนับจากช่วงอายุก่อนหน้านี้คือ ความสามารถในการเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนัก ความเร็ว และบอกเวลาได้

    พัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กวัย 5-6 ปี
              
            เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่เด็กอาจอยู่ในช่วงที่เริ่มเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งจะได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขพื้นฐาน อย่างการบวกและการลบอย่างง่าย รวมไปถึงรูปแบบจำนวนพื้นฐานอย่างเลขคู่เลขคี่เป็นต้น
             
            พัฒนาการที่กล่าวไปเบื้องต้นก็เป็นพื้นฐานพัฒนาการทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นสำหรับเด็กเท่านั้น ในวัยเด็กช่วงอายุต่อไปจะเป็นวัยที่ได้รับการพัฒนาจากคุณครูในชั้นเรียนต่อไป ซึ่งก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เด็กเหล่านี้ชื่นชอบในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไปเมื่อพวกเขาเข้าสู่ระบบโรงเรียนหรือสถานศึกษา

    บันทึกครั้งที่2


    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
    วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.
    จัดทำโดย
    นางสาวปภาวรินท สุทธิประภา เลขที่21

    เนื้อหาที่เรียน
                   ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้พูดถึงปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับเด็ก ว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับเด็ก การมี
    ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อมทำให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลง เด็กเกิดพัฒนาการ คือ การเจริญเติบโต,การเรียนรู้ลำดับเป็นขั้นตอนเป็นต้น จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    ยกตัวอย่างเช่น 
                    เด็กไปหยิบแปรงลบกระดาน จึงทำให้มือเลอะ เด็กจึงเข้าใจว่าการจับแปรงลบกระดานนั้นทำให้มือเปื้อน เด็กจึงพลิกอีกด้านที่เป็นไม้ แล้วมันไม่เลอะ ตึงเกิดการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นต้น
                   การจัดประสบการณ์ คือ เด็กลงมือทำด้วยตนเองโดยใช้เครื่องมือสัมผัสทั้ง 5 คือ การได้ยิน การมองเห็น การลิ้มรส การได้กลิ่น และการสัมผัสเคลื่อนไหว เป็นต้น
                   การให้เด็กได้ลงมือทำอย่างมีความสุขด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ ให้เด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ด้วยวิธีการของเด็กให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เกิดพัฒนาการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
                   ความรู้ใหม่ คือ เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างๆของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้เอง คิดเอง
    ยกตัวอย่าง เช่น
                   น้องเล็กมีตุ๊กตาแมวอยู่ที่บ้าน และทุกวันน้องเล็กจะเล่นกับตุ๊กตาแมวเป็นประจำ วันหนึ่งแม่ได้ชวนไปบ้านคุณป้า แต่บ้านป้ามีแมว น้องเล็กไม่รู้ว่าเป็นแมวจริง นึกว่าตุ๊กตา เพราะหน้าเหมือนกัน จึงเข้าไปเล่นไปดึง จึงโดนแมวข่วน น้องเล็กจึงเกิดความรู้ใหม่ ว่าไม่ใช่ตัวเดียวกัน ถึงจะหน้าเหมือนกัน แต่อันนึงเป็นตุ๊กตา อีกอันเป็นแมวจริง เป็นต้น

    นิยามของการพัฒนาเด็ก
                   การพัฒนา คือ ความสามารถในการเรียนรู้ที่เด็กแสดงออกตามลำดับอายุ และเป็นขั้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ

    คำศัพท์
                   1. Assimilation         ซึมซับ
                   2. Accommodation  การปรับและการจัดระบบ
                   3. Experience          ประสบการณ์
                   4. Heredity               พันธุกรรม
                   5. Environment        สิ่งแวดล้อม

    การประเมิน
                   - ประเมินตนเอง ตั้งใจจดและที่อาจารย์สอน สามารถตอบคำถามอาจารย์ได้ 
                   - ประเมินเพื่อน เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และให้ความร่วมมืออย่างดีเวลาที่อาจารย์ถาม นักศึกษาสามารถตอบได้
                   - ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนให้เด็กได้ฝึกการวิเคราะห์ และถามคำถาม และให้นักศึกษาตอบ ทำให้การเรียนมีประสบการณ์มากขึ้น


    🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌🍌

    วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563


    บันทึกครั้งที่1



    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1
    วันจันทร์ ที่ 6  มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30-12:30 น.
    จัดทำโดย
    นางสาวปภาวรินท สุทธิประภา เลขที่21

    เนื้อหาที่เรียน
                   วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยคาบแรกวันนี้จะเป็นการบอกงานที่ต้องทำ การทำบล็อกเป็นแฟ้มสะสมงานตามองค์ประกอบ การเข้าเรียน การแต่งกายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นต้น งานที่ได้อาจารย์ได้มอบหมายให้ คือ
                   1.งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   2.บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   3.งานโทรทัศน์ครู

    คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 
                   1. Learning.        การเรียนรู้
                   2. Thinking.        การคิด
                   3. The decision.   การตัดสินใจ
                   4. Judgment.       วิจารณญาณ
                   5. Rate.                ประเมิน
                   6. present.            นำเสนอ

    การประเมิน
                   - ประเมินตนเอง    ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และสั่งงาน จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำในแต่ละคาบเรียน
                   - ประเมินเพื่อน      เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและสั่งงาน และให้ความร่วมมือตอบคำถาม
                   - ประเมินอาจารย์  อาจารย์เปิดโอกาสใหันักได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และปลูก ฝังเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมการแต่งกายให้ถูกระเบียบ 

    🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎🍎